ไมโครโฟน (Microphone)
‘ไมโครโฟน’ หรือที่เรียกกันสั้นๆ โดยทั่วไปว่า ‘ไมค์’ เป็นอุปกรณ์หลักสำหรับทำหน้าที่ในการรับและบันทึกข้อมูลเสียง แล้วเปลี่ยนคลื่นเสียง (Sound Wave) จากแหล่งกำเนิดเสียง อาทิเช่น เสียงพูด เสียงเครื่องดนตรี เสียงธรรมชาติ ฯลฯ ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เข้าสู่อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำเสียงเหล่านี้มาประมวลผล โดยอาจอยู่ในรูปแบบของการจัดเก็บลงในสื่อบันทึกเสียง เช่น คาสเซตเทป, แผ่นเสียง, ซีดี เป็นต้น หรือในรูปแบบของการขยายสัญญาณเสียง ซึ่งที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือ การกระจายเสียงผ่านทางลำโพงนั่นเอง
ประเภทของไมโครโฟน (Microphone)
โดยทั่วไปแล้วไมโครโฟนจะถูกออกแบบตามลักษณะการใช้งาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การออกแบบไมโครโฟนที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังเสียงได้ดีตลอดย่านความถี่เสียงซึ่งมีความจำกัด ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีของไมโครโฟนแต่ละประเภทขึ้นมาเพื่อทำลายข้อจำกัดดังกล่าว รวมถึงตอบสนองการใช้งานที่แตกต่างกัน
ในปัจจุบัน ไมโครโฟนที่ได้รับความนิยมและยังคงมีปรากฏให้เห็นใช้งานกันอย่างแพร่หลายมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ดังนี้
- ไมโครโฟนไดนามิค (Dynamic Microphone)
ลักษณะการทำงานของไมโครโฟนประเภทนี้ คือ การรับสัญญาณคลื่นเสียงที่กระทบกับแผ่นรับเสียง ที่เรียกว่า ‘ไดอะเฟรม’ (Diaphragm) เมื่อแผ่นรับเสียงเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้ขดลวดที่พันอยู่รอบๆ เคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก เกิดเป็นแรงดันไฟฟ้าที่ขดลวด แล้วส่งผ่านมายัง เครื่องขยายเสียง
ในปัจจุบันไมโครโฟนประเภทนี้ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากคุณภาพเสียงมีความใกล้เคียงความเป็นธรรมชาติ และมีความคงทนสูง ใช้งานง่าย เหมาะกับงานแทบทุกประเภท เช่น งานคอนเสิร์ต, งานประชุม-สัมมนา, งานกิจกรรม (Event) ต่างๆ
- ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ (Condensor Microphone)
ไมโครโฟนประเภทนี้ออกแบบโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความจุตามเสียงที่มากระทบแผ่นฉนวนที่อยู่ระหว่างแผ่นเพลทสองแผ่น และจะต้องใช้ไฟในการเลี้ยงวงจร ซึ่งข้อดีคือ มีความไวในการรับเสียง สามารถตอบสนองย่านความถี่ได้ชัดเจน โดยเฉพาะย่านความถี่ตั้งแต่กลางไปถึงสูง ให้เสียงที่ใสและกังวาน แต่ด้วยคุณสมบัติที่สามารถรับเสียงได้ไว จึงทำให้เกิดเสียงรบกวน (Noise) ได้ง่าย
ดังนั้นแล้ว ไมโครโฟนประเภทนี้จึงนิยมใช้กับการงานในห้องบันทึกเสียง นอกจากนี้ ตัวไดอะแฟรมที่เป็นส่วนประกอบในไมโครโฟนก็สามารถลดขนาดให้มีขนาดที่เล็กมากๆ ซึ่งนำไปประยุกต์เป็น ไมค์ประชุม ไมค์หนีบปกเสื้อ ใช้กับงานได้อีกหลากหลายรูปแบบ
- ไมโครโฟนแบบไร้สาย (Wireless Microphone)
ไมโครโฟนแบบไร้สาย หรือ ‘ไมค์ลอย’ ความจริงแล้วก็คือไมโครโฟน 2 ประเภทแรกในข้างต้นนั่นเอง เพียงแต่ถูกเพิ่มวงจรเครื่องส่งสัญญาณคลื่นวิทยุเข้ามาภายในตัวไมโครโฟน เพื่อทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังภาครับและส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียงได้โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ
การดูแลรักษาไมโครโฟน (Microphone)
- ไม่ควรเคาะหรือเป่าไมโครโฟน
- ไม่ควรทำล้มหรือตกเป็นอันขาด
- ไม่ควรพูดใกล้หรือห่างไมโครโฟนเกินไป โดยระยะความห่างที่แนะนำอยู่ประมาณ 1-4 นิ้ว แต่ถ้าเป็นไมโครโฟนที่มีคุณสมบัติรับเสียงไว ควรห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
- ไม่ควรวางสายไมโครโฟนใกล้กับสายไฟฟ้า เพราะจะทำให้เกิดเสียงรบกวนจากความถี่ไฟฟ้าได้
- ควรขจัดเสียงรบกวนในบริเวณรอบข้างไมโครโฟน เพื่อคุณภาพเสียงที่ดี
- ควรติดตั้งไมโครโฟนให้ห่างจากลำโพง หากมีจำเป็นที่จะต้องอยู่ใกล้กัน ให้หันหน้าลำโพงหนีไม่ให้มาตั้งฉากกับไมโครโฟน
- ระมัดระวังอย่าให้ไมโครโฟนเปียกน้ำหรือของเหลว
- ควรเก็บไมโครโฟนใส่กล่องไว้ทุกครั้งหลังจากเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและการกระทบกระเทือน
การเลือกใช้งานไมโครโฟน (Microphone)
ปัจจุบันในท้องตลาดมีไมโครโฟนให้เลือกซื้อหลากหลายราคา ตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักหมื่นบาท โดยแตกต่างกันที่คุณภาพในการตอบสนองความถี่เสียงและความไวในการรับเสียง หรืออาจจะเลือกโดยพิจารณาจากขนาดและวัสดุของไมโครโฟนให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน อาทิเช่น งานอบรมบรรยาย ที่ต้องการความคล่องตัว ควรเลือกไมโครโฟนไร้สาย หรือไมโครโฟนที่มีน้ำหนักเบา งานบันทึกเสียงควรเลือกไมโครโฟนที่ตอบโจทย์ในเรื่องของคุณภาพเสียง หรือถ้าเป็นงานที่ไม่เน้นความสำคัญเรื่องคุณภาพเสียง ก็สามารถเลือกไมโครโฟนที่มีราคาถูกมาใช้งานได้
แต่สำหรับผู้ที่ต้องการเลือกใช้งานไมโครโฟนประเภทไดนามิก ข้อแนะนำคือการพิจารณาถึงขนาดอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟน ถ้าจะต้องใช้สายต่อที่มีความยาวมากๆ ควรเลือกใช้ไมโครโฟนที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำ เพราะจะสามารถลดสัญญานรบกวนได้ดีกว่าไมโครโฟนอิมพีแดนซ์สูง
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
Uncategorized
Uncategorized
Uncategorized
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
Uncategorized
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
Uncategorized
Uncategorized
ไมโครโฟน
Uncategorized
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน