ฟรีค่าจัดส่ง
ซื้อสินค้า 1000 บาทขึ้นไป
โอนผ่านบัญชี
วิธีการชำระเงิน
24/7 ช่วยเหลือ
เจ้าหน้าที่ Support
สินค้าของแท้ 100%
สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ
เปลี่ยนสินค้า
สินค้ามีปัญหาเครมง่าย
เครื่องเสียงกลางแจ้ง หรือ Public Address (P.A.) คือ ระบบกระจายเสียงสาธารณะ ที่ใช้ในวัตถุประสงค์สำหรับการกระจายเสียงครอบคลุมไปยังผู้ฟังจำนวนมากในพื้นที่สาธารณะ หรือสถานที่กลางแจ้งต่าง ๆ เช่น ลานคอนเสิร์ต ลานดนตรี สนามกีฬา ลานจัดงานกลางแจ้ง ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า และลานจอดรถ เป็นต้น
เมื่อพูดถึงองค์ประกอบของเครื่องเสียงกลางแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเสียงกลางแจ้งขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม จะมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
1. ภาคสัญญาณเข้า (Input) เป็นภาคส่วนกำเนิดเสียง หรือส่วนที่ทำหน้าที่รับเข้าเสียงเพื่อเปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง ได้แก่อุปกรณ์ เช่น ไมโครโฟน หรืออุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นคอมแพกดิสก์ เครื่องเล่นเทปคาสเซส สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก หรือเครื่องดนตรีต่าง ๆ ก็จัดว่าเป็นอุปกรณ์ภาคสัญญาณเข้า หรือ Input ที่จะก่อให้เกิดเสียง เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลในภาคขยายสัญญาณ
2. ภาคสัญญาณขยาย (Amplifier) เป็นภาคที่รับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงจากภาคสัญญาณเข้า แล้วนำมาประมวลผล ปรับแต่งและขยายสัญญาณให้มีความแรงขึ้น และเตรียมที่จะส่งต่อไปยังภาคสุดท้าย คือ ภาคสัญญาณออกนั่นเอง โดยอุปกรณ์ในภาคสัญญาณขยายนี้ ยกตัวอย่างเช่น มิกเซอร์ พาว์เวอร์มิก อีควอไรเซอร์ พาว์เวอร์แอมป์ เป็นต้น ทั้งนี้ภาคสัญญาณขยายแบ่งออกเป็น 2 วงจร ได้แก่
– วงจรก่อนการขยาย (Pre Amplifier) จะช่วยปรับแต่งเสียงที่รับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงมาจากภาคสัญญาณเข้า จากอุปกรณ์กำเนิดสัญญาณเสียงแบบต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกัน โดยวงจรนี้จะปรับสัญญาณให้มีความเสถียรก่อนจะส่งไปยังวงจรขยายกำลัง
– วงจรขยายกำลัง (Power Amplifier) จะรับสัญญาณมาจากวงจรก่อนการขยาย เพื่อขยายกำลังสัญญาณเสียงให้มีความแรงเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรนี้ ได้แก่ เครื่องขยายเสียง
3. ภาคสัญญาณออก (Output) หลังจากรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงมาจากภาคสัญญาณขยายแล้ว ภาคส่วนนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณเป็นคลื่นเสียง และกระจายออกไปสู่ผู้ฟัง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในภาคสัญญาณออก ได้แก่ เครื่องขยายเสียง และลำโพง นั่นเอง
เมื่อทราบถึงองค์ประกอบของเครื่องเสียงกลางแจ้งแล้ว หลายท่านอาจสงสัยว่าการจัดระบบของเครื่องเสียงกลางแจ้งมีเทคนิคในการเลือกใช้และปรับระบบอย่างไรบ้าง ที่จะทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ดี ติดตามได้จาก 5 เทคนิคดังต่อไปนี้
เทคนิคในการเลือกและการปรับระบบเครื่องเสียงกลางแจ้ง
1. เลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ อุปกรณ์สำหรับชุดเครื่องเสียงกลางแจ้ง ส่วน ใหญ่แล้วคุณภาพและราคามักจะสัมพันธ์กันเสมอ อุปกรณ์ที่มียี่ห้อน่าเชื่อถือ เป็นที่นิยมในระดับสากลหลาย ๆ แบรนด์ ก็อาจจะมีราคาสูง แต่นั่นเพราะการเลือกใช้วัสดุและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ การเลือกซื้อชุดเครื่องเสียงกลางแจ้งนับเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ นอกจากงบประมาณที่เหมาะสมกับงานที่จะนำไปใช้แล้วจึงควรคำนึงถึงคุณภาพและความน่าเชื่อถือเป็นอันดับต้นๆ และสิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้คือ สายสัญญาณก็ควรเลือกใช้แบบคุณภาพดีเช่นเดียวกัน
2. รู้จักระดับของสัญญาณเสียง ระดับสัญญาณเสียงเป็นสิ่งสำคัญที่คนใช้เครื่องเสียงกลางแจ้งต้องรู้จัก หากจัดลำดับของสัญญาณเสียงผิดจะทำให้เสียงที่ออกมาไม่ได้คุณภาพ แตกพร่า หรืออาจมีเสียงรบกวน ซึ่งระดับสัญญาณเสียงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
– ระดับสัญญาณไมโครโฟน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ออกมาจากไมโครโฟน หรือเครื่องดนตรีที่มีตัวรับเสียง ระดับสัญญาณเสียงจะต่ำสุดหรือเบาที่สุด และระดับความแรงขึ้นอยู่กับค่าความไวของไมโครโฟน แต่เนื่องจากสัญญาณเสียงระดับนี้มีค่าต่ำมากจึงจำเป็นต้องนำสัญญาณไมโครโฟนนี้มาขยายเพื่อให้ได้ระดับสัญญาณที่เหมาะสม โดยใช้พรีไมค์นั่นเอง
– ระดับสัญญาณไลน์ ระดับสัญญาณไลน์นี้คือสัญญาณที่ออกจากเครื่องเสียงต่าง ๆ หรือเป็นสัญญาณจากระดับสัญญาณไมโครโฟนที่ถูกขยายมาแล้ว
– ระดับสัญญาณลำโพง คือระดับสัญญาณเสียงที่สูงที่สุด โดยการนำสัญญาณไลน์มาขยายให้สูงยิ่งขึ้น เพื่อป้อนสัญญาณเข้าสู่ลำโพง กำลังขยายจะมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับกำลังวัตต์ของเพาเวอร์แอมป์ ทั้งนี้ต้องระวังห้ามนำระดับสัญญาณลำโพงไปเข้าช่องสัญญาณไลน์หรือช่องสัญญาณไมโครโฟนเด็ดขาด เพราะระดับสัญญาณมีความแตกต่างกันมาก อาจจะทำให้
3. เชื่อมต่อระบบให้ถูกต้อง รูปแบบสัญญาณเสียงมีความสำคัญสำหรับการต่อระบบเสียง ซึ่งรูปแบบสัญญาณเสียงนั้นมี 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบบาลานซ์ (Balance) และแบบอันบาลานซ์ (Unbalance) เครื่องเสียงกลางแจ้งนั้นควรทำรูปแบบสัญญาณเสียงให้เป็นแบบบาลานซ์ เพื่อขจัดเสียงรบกวนในระบบ และมีข้อดีคือ ให้ความดังของเสียงเพิ่มขึ้นและให้เสียงที่สะอาด เพราะระดับสัญญาณแบบบาลานซ์นั้นอยู่ในระดับ +4dBu ส่วนระดับสัญญาณแบบอันบาลานซ์ อยู่ที่ระดับ -10dBv ซึ่งต่ำกว่าแบบบาลานซ์มาก อุปกรณ์ที่จะแปลงสัญญาณให้เป็นแบบบาลานซ์ได้นั้น ต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า DI Box ในการช่วยแปลงสัญญาณ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ระบบเสียงมีคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น
4. จัดระบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยพิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ จำนวนผู้ฟัง และวัตถุประสงค์ของงาน ฯลฯ
5. ใช้โปรแกรมวิเคราะห์เสียงเข้ามาช่วย ซึ่งโปรแกรมวิเคราะห์เสียงจะช่วยให้เห็นช่วงความถี่และเฟสได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถดูระดับความดังได้ตลอด โดยหูคนเรานั้นยิ่งฟังนาน ๆ ก็จะสูญเสียการได้ยินไปส่วนหนึ่ง การมีโปรแกรมเข้ามาช่วยจึงเป็นการดีที่จะทำให้สามารถตัดสินใจในการปรับแต่งเสียงได้ง่ายยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามการเลือกใช้เครื่องเสียงกลางแจ้งถือเป็นการลงทุนไปกับอุปกรณ์ที่ค่อนข้างมีราคาสูง แต่ก็ถือเป็นการลงทุนระยะยาวด้วย เมื่อได้รู้จักองค์ประกอบต่าง ๆ และเทคนิคการเลือกและการปรับระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งแล้วก็อย่าลืมหมั่นดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ตามวิธีของแต่ละประเภท เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชิ้นนั่นเอง
No account yet?
Create an Account