ฟรีค่าจัดส่ง
ซื้อสินค้า 1000 บาทขึ้นไป
โอนผ่านบัญชี
วิธีการชำระเงิน
24/7 ช่วยเหลือ
เจ้าหน้าที่ Support
สินค้าของแท้ 100%
สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ
เปลี่ยนสินค้า
สินค้ามีปัญหาเครมง่าย
Earphone หรือ ‘หูฟัง’ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ออดิโอ (Audio) ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาหูฟังในรูปแบบต่างๆ ขึ้นมามากมาย เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงสนนราคาที่มีให้เลือกซื้อตั้งแต่หลักสิบขึ้นไป
การเลือกหูฟังให้คุ้มค่าคุ้มราคาและเหมาะสมกับการใช้งาน เราควรทำความรู้จักหูฟังในแต่ละประเภทกันเสียก่อน
รูปแบบของหูฟังที่เราคุ้นเคยและสามารถพบเห็นได้ทั่วๆ ไปในทุกวันนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่ Earbuds, In-Ear และ Full-Size
หูฟังในรูปแบบที่เรียบง่าย ลักษณะกลมแบน จุดเด่นคือมีน้ำหนักเบาและสวมใส่สบาย ให้เสียงที่เปิดโล่ง แต่ด้วยลักษณะการใช้งานหูฟังประเภทนี้ไม่ได้เสียบเข้าไปในรูหูโดยตรง จึงทำให้เสียงจากภายนอกสามารถเล็ดลอดเข้ามาแทรกได้ (บางครั้งอาจต้องเร่งเสียงแข่ง) และยังลดทอนรายละเอียดเสียงดนตรีบางย่านลงไปด้วย
หูฟังที่ได้รับความนิยมในลำดับต้นๆ และถูกนิยามว่าเป็นหูฟังที่ให้มิติเสียงที่ดีที่สุด เนื่องจากลักษณะการใช้งานที่ต้องเสียบเข้าไปในรูหู จึงช่วยป้องกันในเรื่องของเสียงรบกวนจากภายนอก สามารถเก็บรายละเอียดเสียงกลางและแหลมได้ดี เสียงเครื่องดนตรีได้ชัดเจน มีความเพี้ยนต่ำ และด้วยความที่ตัวลำโพงของหูฟังมีขนาดเล็ก เมื่อสวมใส่เข้าไปก็จะอยู่ใกล้กับโครงสร้างของหูในส่วนที่ใช้รับเสียงมากกว่าหูฟังประเภทอื่นๆ ทำให้คลื่นเสียงเข้าสู่แก้วหูโดยตรง
หูฟังประเภท Full-size หรือที่เรียกกันว่า Headphone มีลักษณะการใช้งานคือนำมาคาดกับศรีษะเพื่อให้เอียร์แพดอยู่ที่บริเวณใบหู โดยหูฟังประเภทนี้สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 รูปแบบ ได้แก่ หูฟังแบบ Over-Ear กับ หูฟังแบบ On-Ear
ควรเลือกหูฟังที่ให้เสียงครบทุกย่านคือ ต้องมีเสียงสูง กลาง ต่ำที่ชัดเจนและสมดุลกัน จะต้องไม่มีเสียงใดเสียงหนึ่งโดดนำเสียงอื่นๆ
เลือกแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งสามารถการันตีได้ถึงคุณภาพและมาตรฐานได้ในระดับหนึ่ง
สามารถป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี โดยส่วนมากจะเป็นหูฟังแบบ Full-Size และหูฟังเเบบ In-Ear
สวมใส่สบาย ไม่รู้สึกอึดอัดหรือเจ็บหูเวลาสวมใส่
มีการรับประกันจากบริษัทผู้ผลิต
หลายคนมักเคยชินกับการดึงสายหูฟังออกจากขั้วแจ็ค โดยไม่รู้ว่านั่นคือวิธีที่ผิด และเป็นสาเหตุทำให้สายหูฟังขาดหรือสายไฟที่อยู่ข้างในฉีกขาดจากแรงดึงกระชากได้ ซึ่งวิธีการถอดสายหูฟังที่ถูกต้องนั้น ควรจับที่บริเวณส่วนขั้วแจ็คแล้วดึงออกมาตรงๆ แบบนี้จะช่วยถนอมให้หูฟังมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
หลังใช้งานเสร็จทุกครั้งควรจับเก็บหูฟังใส่กล่อง ถุงผ้า หรือลิ้นชัก เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และเพื่อให้หูฟังคงอยู่ในสภาพที่สวยงามน่าใช้ รวมถึงเพื่อความสะดวกในการหยิบจับนำมาใช้งาน
สำหรับหูฟังแบบ In-Ear ที่มีจุกยาง แนะนำให้ดึงจุกยางออกมาล้างทำความสะอาดคราบสกปรกต่างๆ ขณะที่หูฟังแบบ Over-Ear ควรเน้นการดูแลทำความสะอาดเอียร์แพด และหากเอียร์แพดเปื่อยยุ่ย ควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองหรือวัตถุแปลกปลอมเข้าไปสร้างความเสียหายแก่ตัวไดร์เวอร์ (driver) ที่อยู่ภายใน เพราะไดร์เวอร์ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของหูฟัง
ชิ้นส่วนสำคัญที่อยู่ภายในหูฟังอย่าง ไดร์เวอร์ และ กลไกลแผงวงจร นั้นมีความบอบบาง และไวต่อความชื้นมาก (เว้นแต่ว่าหูฟังนั้นเป็นรุ่นกันน้ำ) หากปล่อยให้หูฟังสัมผัสกับความชื้น ก็อาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหายกับระบบการขับเสียงได้
No account yet?
Create an Account