ลำโพงไลน์อาร์เรย์ (Line Array Speaker)
ลำโพงไลน์อาร์เรย์ (Line Array Speaker) หรือ ลำโพงแผงตั้ง เป็นลำโพงที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากลำโพงคอลัมน์ และถูกออกแบบตามหลักทฤษฎีไลน์ซอร์ส (Line Source) ลักษณะเป็นการนำเอาตู้ลำโพงหรือดอกลำโพงมาวางเรียงต่อๆ กันเป็นแนวยาว เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่อย่างเช่น หอประชุม สนามกีฬา ลานกว้าง เป็นต้น โดยจัดว่าเป็นหนึ่งในลำโพงที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ส่วนมากการจัดวางลำโพงไลน์อาร์เรย์นี้จะอยู่ในลักษณะการแขวนในแนวดิ่ง และนิยมแขวนไว้บนที่สูง หรือที่เรียกว่า ‘ฟรายอิ้ง’ (Flying) แต่ในบางกรณีอาจจัดวางกับพื้นแล้วปรับองศาให้เอียงขึ้นหาผู้ฟังที่เรียกว่า ‘กราวด์สแต็ค’ (Ground stack) ก็สามารถทำได้
และด้วยลักษณะของลำโพงชนิดนี้ที่มีการนำลำโพงมาวางเรียงต่อกัน จึงทำให้สามารถกระจายเสียงได้ครอบคลุมพื้นที่ เกิดการกระจายคลื่นเสียงแบบเป็นเส้นๆ (ไลน์ซอร์ส) ซึ่งตามแบบจำลองคลื่นเสียงการกระจายจะอยู่ในรูปแบบทรงกระบอกคล้ายกับท่อ โดยคลื่นเสียงจะกระจายออกรอบทิศทางในแนวราบ (Horizontal Dispersion) แต่จะไม่กระจายออกด้านบนและด้านล่าง (คลื่นเสียงมีเฉพาะแค่ฝั่งซ้ายและขวา) อีกทั้งยังให้ความดังที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมการกระจายเสียงในย่านเสียงต่ำได้ดี ไม่ทำให้เสียงเกิดการสะท้อนกับผนังห้อง แล้วย้อนกลับมาแทรกกับเสียงลำโพง จนเกิดการหักล้างเฟสขึ้น (ในกรณีใช้งานกลางแจ้งที่แวดล้อมด้วยอาคารหรือสิ่งก่อสร้างก็เช่นกัน)
ประเภทของลำโพงไลน์อาร์เรย์ (Line Array Speaker)
เราสามารถแบ่งประเภทของลำโพงไลน์อาร์เรย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ แบบ Active และ แบบ Passive
- ลำโพง Passive Line Array
เป็นลำโพงที่ไม่มีแอมป์ขยายในตัว ต้องใช้งานคู่กับเครื่องขยายเสียง แต่ก็จะต้องเลือกแอมป์ที่มีกำลังวัตต์แมทช์กับลำโพงเท่านั้น ใช้งานง่ายๆ เพียงแค่ใช้สายลำโพงต่อเข้าที่ตู้ลำโพงได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องต่อหรือเดินสายไฟและสายสัญญาณเสียง มีราคาต่อใบถูกกว่าแบบ Active Line Array เมื่อเทียบกับรุ่นที่มีคุณสมบัติเดียวกัน แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ต้องขนอุปกรณ์จำนวนมาก เช่น ตู้ลำโพง แอมป์ขยาย โปรเซสเซอร์ ต่างๆ และยังทำให้การติดตั้งใช้เวลานาน
- ลำโพง Active Line Array
เป็นลำโพงที่มีแอมป์ขยายภายในตัว ซึ่งมีการออกแบบมาให้แอมป์และลำโพงทำงานเข้าคู่กันอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ง่ายต่อการตั้งค่า (Setup) และการควบคุม (Control) เมื่อใช้งาน จึงอาจไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องขยายเสียงเพิ่ม นอกจากนี้ยัง เป็นการลดจำนวนของสายสัญญาณในการต่อพ่วง ซึ่งทำให้การติดตั้งมีความสะดวกและรวดเร็ว รวมถึงช่วยลดภาระในการขนย้ายอุปกรณ์และ เครื่องขยายเสียงจำนวนมาก โดยข้อจำกัดของลำโพง Active Line Array นี้ก็คือ เมื่อตู้เกิดความเสียหาย ต้องยกลำโพงไปซ่อมทั้งใบ และยังราคาต่อใบมีราคาสูงกว่าลำโพง Passive Line Array อีกด้วย
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจลำโพงไลน์อาเรย์ (Line Array Speaker)
- เป็นลำโพงที่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ขนาดกลาง-ขนาดใหญ่
- จำเป็นต้องใช้ลำโพงหลายใบมาวางเรียงต่อกัน (ตามแนวตั้ง) เพื่อให้เสียงดังครอบคลุมพื้นที่
- มีพลังเสียงที่ดัง และสามารถควบคุมความดังแต่ละบริเวณได้ดี
- ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบราคาต่อตู้ หรือต่อดอกลำโพง
- การติดตั้งใช้งานต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการคำนวณองศาการกระจายเสียง
ลำโพงคอลัมน์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
dBtechnologies VIO L210 ลำโพง Active ไลน์อาร์เรย์ 2×10″ 1800W
ลำโพงมีแอมป์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงคอลัมน์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงมีแอมป์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงมีแอมป์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงมีแอมป์
ลำโพงมีแอมป์
ลำโพงคอลัมน์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงไลน์อาเรย์
ลำโพงคอลัมน์
ลำโพงคอลัมน์